Myanmar (เมียนมา)

ความต่างของไทย-เมียนมา
การเดินทางโดยจักรยานในต่างประเทศครั้งแรก วันแรกที่ไปถึงเราก็เจอเรื่องราวที่ทำให้หวาดระแวงกันไปทุกคนเลยทีเดียว แต่เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมที่มีทั้งคนดีและไม่ดีอยู่ร่วมกัน เมื่อเราเดินทางเขาสู้ชายแดนพม่าก็เจอกับการตรวจเป็นระยะ ตำรวจชอบถามว่าคุณจะไปไหน นอนที่ไหน เพราะประเทศนี้ไม่อนุญาตให้กางเต้นนอน คิดเองว่าอาจเป็นเพราะประเทศยังไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวมากนัก ยังคงมีการปล้น มีชาวบ้านเดินถือมีดอยู่ริมถนน สะพายปืนเดินไปเดินมาบางคนก็ทำหน้าไม่ดีใส่ บางคนก็ยิ้มแต่ไม่รู้ในใจคิดอะไร ส่วนมากแล้วที่เราเจอมักจะเป็นเรื่องดีๆ เราเคยใช่ชีวิตกับกะเหรี่ยงที่ชอบบอกว่าตัวเองไม่ใช่พม่าและทุกวันนี้ยังคงมีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่ ในสายตาชาวโลกพวกเขาอาจเป็นกลุ่มที่รุนแรงน่ากลัวเพราะมีการต่อสู้เพื่ออิสรภาพมาเป็นเวลายาวนานแต่เมื่อเราได้รู้จักและใช่ชีวิตร่วมกับพวกเขาเราก็มองไม่เห็นถึงความน่ากลัวและอันตรายที่ใครๆพูดถึง พวกเราให้ทุกอย่างที่พวกเขาสามารถให้ได้ ที่นอน น้ำ อาหาร พยายามพูดคุยกับเราแต่คนส่วนมากที่เราเจอในพม่าสามารถพูดภาษาไทยได้ บ้างไปทำงานในประเทศไทย 8 ปี 12 ปี 15 ปี เราเลยไม่ลำบากมากเพราะเข้าใจกัน นี้เป็นเรื่องที่คนไทยควรจะตื่นตัวอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จะเปิดประตูอาเซียน กลุ่มคนพวกนี้เป็นคนขยันสู้งาน รักการเรียนรู้และมีความพยายาม ต่อสู้ชีวิตเพราะพวกเขารู้จักความลำบากยากจนดี เด็กๆในหมู่บ้านที่เรารู้จักขอให้เราช่วยสอนภาษาไทยและอังกฤษให้ แสดงถึงโอกาสที่พวกเขามีและพยายามคว้ามันมากแค่ไหน พวกเขายังต้องไปเรียนหนังสือที่วัดกับพระ อาบน้ำในคลองช่วยพ่อแม่จับแม่ไปเป็นอาหาร กินข้าวกับน้ำต้มรากไม้ใส่แค่เกลือ ความลำบากพวกนี้มีเด็กไทยน้อยมากที่ได้รับ มองเด็กไทยแล้วพวกเขาส่วนมากมีโอกาสเรียนรู้ศึกษา ทำงานมากมาย แค่พวกเขาเลือกสิ่งที่ต้องการ ถ้าไม่ใช่ไม่ได้อย่างที่หวังก็จะไม่สนใจ ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอ ชอบชีวิตง่ายสะดวกสบาย ทำทุกอย่างผ่านอินเตอร์เน็ต แม้กระทั้งลอยกระทงยังมีลอยในอินเตอร์เน็ตเลย อินเตอร์เน็ตทำให้พวกเขามีโอกาสในชีวิตน้อยลง พวกเขาไม่พูดคุยกับคนข้างๆเพราะมือถือโทรศัพท์ตามองแต่หน้าจอ พ่อแม่ส่วนมากทำงาน ส่งลูกไปเรียนพิเศษ อยากให้ลูกเป็นแบบที่วางไว้ ลูกไม่อยากเป็นก็กลายเป็นปัญหาครอบครัว ในเมื่อสังคมเล็กๆที่มีความสำคัญที่สุดยังมีปัญหากันแล้วสังคมใหญ่จะเป็นอย่างไร 100 คน 100 ความคิด สุดท้ายปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นก่อตัวรวมเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศนี้” เด็กไทยที่มีโอกาสได้อ่านข้อความนี้ คุณอย่ากลัวกับปัญหาที่เกินขึ้นในชีวิตของคุณ คุณต้องสู้ถึงจะไปถึงจุดหมายได้ ไม่มีชีวิตไหนเกิดมาแล้วไม่มีเรื่องผิดพลาดหรือปัญหาที่ต้องแก้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของตัวเองหรือคนอื่นก่อไว้แล้วเรามีส่วนร่วม ทุกชีวิตต่างมีเรื่องราวที่ต่างกันแล้วแต่คุณว่าคุณจะมองปัญหานั้นใหญ่แค่ไหน” สุดท้ายแล้วเมื่อคุณผ่านทุกอย่างไปได้ คุณจะเห็นรอยยิ้มอยู่บนหน้าคุณ คุณไม่สู้ต่อไปในอนาคตจะลำบากมากขึ้น ประเทศเราเกือบทั่วทั้งประเทศมีไฟฟ้าใช่ มีโรงเรียนให้เด็กๆได้เรียน เปิดกว้างในการศึกษาสามารถเลือกเรียนภาษาต่างๆได้ มีโรงพยาบาลอยู่ในทุกอำเภอและยังมีอานามัยอยู่ทั่วประเทศ แต่พวกเขาเมื่อป่วยไม่มีรถไม่มีคนช่วยเหลือไม่มียา โรงพยาบาลอยู่ไกลเกินความสามารถของผู้ป่วยที่จะเดินไปได้ สุดท้ายก็ชีวิตในป่า ชาวบ้านที่เรารู้จักเขาเสียสามี และลูกอีก 5 คน เพราะไม่สบาย เราโชคดีมากนะค่ะ คงไม่ต้องอธิบายแล้วว่าโชคดียังไง ส่วนในจังหวัดใหญ่ๆของเขาก็เริ่มใกล้ๆกันกับเมืองไทยแล้ว จริงๆแล้วเราไม่ได้ใช่ชีวิตอยู่ในตัวเมืองที่เจริญแล้วสักเท่าไหร่

IMG_0759

การไขว้คว้าโอกาสของเด็กๆผู้ด้อยโอกาส ฉันพยายามทำดีที่สุดที่สามารถทำได้

พวกเขาทำงานหนักไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแต่ก็สู้อดทนทำเพื่ออนาคตประเทศและลูกหลาน

พวกเขาทำงานหนักไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแต่ก็สู้อดทนทำเพื่ออนาคตประเทศและลูกหลาน

ศาสนาและวัฒนธรรม
เราค่อยๆเรียนรู้วัฒนธรรมของเมียนมา เวลารับส่งของต้องใช่มืออีกข้างหนึ่งรองใต้แขนที่เราใช่ส่งเป็นการแสดงถึงความสุภาพ ผู้หญิงส่วนมากในประเทศจะใส่ผ้าถุงและแสดงถึงความสุภาพเรียบร้อยน่ารัก ผู้ใหญ่จะไม่ชอบให้ใส่กางเกง ผู้หญิงห้ามตากผ้าหน้าบ้าน เราคิดว่าแสดงให้เห็นว่าผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่า คนชอบกินหมากมีร้านขายหมากเยอะมาก เด็กๆตัวเล็กๆก็เริ่มเคี่ยวหมากแล้ว บางคนยังคงกินข้าวกับมือ เวลาทานอาหารก่อนใส่อาหารในจานพวกเขาจะทำจานให้เปียกก่อน เป็นการล้างสิ่งสกปรกอีกรอบ ทุกร้านจะมีน้ำชาร้อนอยู่บนโต๊ะ แก้วที่เรากินชาเขาจะไม่ล้าง เราไปแล้วเอาคว่ำแก้วเก็บไว้ที่เดิม คนชอบกินกาแฟ ไม่ใส่รองเท้าเข้าวัด ต้องถอดรองเท้าไว้ที่หน้าประตูวัดแล้วเดินเข้าไปไม่ว่าพื้นจะสภาพแบบ ผู้หญิงสามารถรับของจากพระได้โดยตรงเหมือนกับผู้ชาย พระสามารถขับรถเองได้ ชาวบ้านทั่วไปอาบน้ำในที่แจ้งไม่อายไม่สนใจคนขับรถผ่านหรือคนมอง ส่วนห้องส้วมก็จะเป็นห้องเล็กๆอาจใช่ใบไม้ปิดหรือมีไม้แล้วใช่กระสอบปุ๋ยปิดแล้วแต่ฐานะ เขาจะโกนหัวเด็กอายุ 1-2 ปีเพราะจะทำให้พวกเขาแข็งแรง คนชอบเข้าวัดทำบุญกับดอกไม้สดสวดมนต์ นั่งสมาธิเขามีวิธีการซักผ้าที่เสียงดังมาก ต่างจากบ้านเรา

ชาวเมียนมานิยมกินหมากมาก จึงมีขายทั่วไปเหมือนร้านค้าบ้านเรา

ชาวเมียนมานิยมกินหมากมาก จึงมีขายทั่วไปเหมือนร้านค้าบ้านเรา

พวกเขามีความศรัทธาที่แรงกล้า และมีใจที่ใสบริสุทธฺ์

พวกเขามีความศรัทธาที่แรงกล้า และมีใจที่ใสบริสุทธฺ์

การใช่จ่าย
ค่าเงินของเขาต่างจากบ้านเรามาก 350 จ๊าดเท่ากับ 10 บาท ราคาน้ำอัดลมอยู่ที่ 500 จ๊าด (เขาไม่มีตู้เย็นจะใส่ลังแช่น้ำแข็งเอาไว้บางร้านก็ไม่มีเย็นๆเลย) ราคาข้าวที่ถูกที่สุดที่เราเคยกิน 700 จ๊าด ต่อกับข้าวหนึ่งอย่าง เขาจะตักกับข้าวใส่ถ้วยเล็กๆให้ ส่วนข้าวบางร้านจะใส่หม้อมาให้ตักไม่อั้นเลยทีเดียว ส่วนราคาที่เจอปกติ 1500 จ๊าดต่อกับข้าวหนึ่งอย่าง อาหารส่วนมามีน้ำมันเยอะ น้ำพริกเขาอร่อยมาก ส่วนเรื่องค่าโรงแรมเราไม่ทราบเพราะไม่เคยนอนโรงแรมในเมียนมาเลย ราคาขนมทั่วไป 100 จ๊าด (ขนมส่วนมากเป็นขนมทอด อมน้ำมัน) ส่วนขนมตามร้านขายของก็แล้วแต่แม่ค้าจะอยากลอกคุณราคาเท่าไหร่ ต้องถามราคาก่อนซื้อทุกครั้งเพื่อความสบายใจและไม่มีปัญหาทีหลัง

ร้านข้าวทั่วไปในเมียนมาจะมีน้ำชาให้ทานฟรี

ร้านข้าวทั่วไปในเมียนมาจะมีน้ำชาให้ทานฟรี

เงินเมียนมา 1000 จ๊าด

เงินเมียนมา 1000 จ๊าด

ถนน
เราปั่นเข้าพม่าทางกาญจนบุรี ด่านพุน้ำร้อน ติ๊กกี้ มิตตา ทวาย ยี มูโด้ มะละแหม่ง เมียววดี แม่สอด จังหวัดตาก เส้นทางติ๊กกี้ถึงกับต้องร้องโอ๊ย จะไปไหวเหรอจักรยานกับกระเป๋ามากมายขนาดนี้ขาสองข้างจะพาเราไปได้ไกลแค่ไหนวันนี้ แล้วทางข้างหน้าก็ไม่รู้จะเป็นแบบนี้อีกไกลแค่ไหน สุดท้ายเราสู้ไม่ไหวต้องลงจากจักรยานเดินกัน มีรถบรรทุกเหมือนจะใจดีจอดรับเรา เรานั่งบนรถตั้งแต่ บ่ายกว่าๆเราไปถึงมิตตา เมืองที่เราต้องการจะไปหกโมงกว่าๆ เพราะทางลำบากมาก เราคิดว่าเป็นเส้นทางที่ไม่เหมาะกับการปั่นจักรยานเป็นอย่างยิ่ง ตลอดทางมีบ้านคนนับหลังได้เลย ส่วนร้านค้าก็มีน้อยสุดๆ ถ้าเราไม่เลือกขึ้นรถอาจต้องใช่เวลาหลายวันกว่าจะถึงมิตตา ในประเทศนี้ไม่มีไฟฟ้า ไฟบนถนนก็ไม่ต้องคิดถึงเลยค่ะ คุณไม่มีไฟก็อย่าออกไปไหน เพราะอาจเดินตกหลุมหรือสะดุดไม้เจ็บตัวได้ ทางไปทวายเป็นทางขึ้นเขาลงเขานิดหน่อยไม่มากค่ะ ทางค่อยข้างสบาย มีคนกำลังเจาะหินจากภูเขาไปทำถนนมีคนนั่งทุบหินให้เป็นก้อนเล็กๆ เมื่อถึงเมืองทวายก็จะสับสนกับถนนนิดหน่อยเพราะไม่มีป้ายบอกอะไรคุยเลย ต้องถามชาวบ้านบ้างคนก็ไม่รู้เรื่อง อีกคนบอกอีกอย่าง คนเดินทางถึงกับงง เราปั่นจักรยานหลงทางลงไปทางใต้ทั้งที่จะไปทางเหนือ เข็มทิศเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ถนนเส้นใหญ่ที่สุดในประเทศ ( highway) ยังมีการก่อสร้างเป็นระยะ เพื่อขยายถนนให้กว้างขึ้น ยิ่งขึ้นไปทางเหนือมากขึ้นถนนก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เกือบจนถึงเมียวดีมีถนนใหญ่และใหม่มาก มีป้ายบอกทาง พื้นที่บางส่วนก็มีแต่ภูเขาปั่นขึ้นปั่นลงกันขาแข็งเลยทีเดียว ยิ่งทางก่อนถึงเมียวดีเป็นเขาเยอะมาก แต่ก็สู้ติ๊กกี้ไม่ได้ เราออกมาก็เจอเขาแม่สอดเมืองตากอีก จะเดินทางมาเส้นทางนี้ต้องเช็ดรถดีๆนะค่ะ

ถนนที่กำลังซ้อมและขยายเพิ่มเติม

ถนนที่กำลังซ้อมและขยายเพิ่มเติม

ให้ความหมายกับชีวิตแล้วชีวิตจะมีความหมาย

ให้ความหมายกับชีวิตแล้วชีวิตจะมีความหมาย

ข้อคิดจากการเดินทาง :  ไม่ว่าคุณจะมีอำนาจสูงแค่ไหน ชีวิตร่ำรวย มีบ้านหลังใหญ่ ครอบครัวอบอุ่นหรือยากจนอดมื้อกินมื้อ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเงิน สุดท้ายทุกคนหนีไม่พ้นความหิวความเจ็บปวดในชีวิต ความทุกข์ ความสุข การจากลา ความตาย ทุกคนในโลกมีค่าเท่ากันไม่มีใครต่ำกว่าคุณและสูงกว่าคุณ จงใช้ชีวิตให้มีค่าและมีความหมายทุกๆอย่างอยู่ที่คุณให้คุณค่ากับมันมากหรือน้อยแค่ไหน

TAN & ALEU

Advertisement

The way of thinking of a “rotten” world

 Our dream is far away from a common lifestyle. Who will be the crazy person? That leave a comfy life to become almost a wanderer? It’s hard to think, but we are the pure example of it. 

IMG_20140813_052245

“just out of Phuket. Phang Nga province”

Once you look around… from the top of a simple bike it may seems different, cars pass you fast, people wearing uncomfortable clothes, foods are not tasty anymore, time go against us, not with us, feelings are forgotten, values do not exist and the landscapes are not observed carefully anymore… All for one reason, money and power, this is what make this world move to the wrong way. Why? What is so special? What you feel once you have it? NOTHING!!!! I want to ask?

If… We could not show how much money we have, if we could not have clothes on, if we all walk or ride to go from point A to B, Who the bloody hell will be more powerful? Who will be more important? Who will be happier? Where is happiness? I think is inside us, we just need to look at it…

Like yesterday during our daily ride of preparation, we were riding in a big road at Phuket (Thailand) the traffic was just horrible, everyone was going crazy to get no where, and i even feel bad humor a few times, as we almost get crashed, from those high so, business, stressed people. 

Then I told to Tan, stop the bike and look the other side, there was a big pineapple field, with mountains and a beautiful sunset as a background, next to this ugly and rotten road, so in that flawless moment I was sure that we are planning something truly great; truly unique. Be able to go around the globe with a bike, and see all those positive places, that fill up your energy in an instant. 

IMG_20140816_042212

“Andaman sea, Rawai Beach, sea port”

And I can recommend but maybe not change people. Because they wanna keep fast, stressed, and with them poorly happy lives. All because social media, such as the TV, internet and society teach us; manipulate us.For example, to have a big house, a nice car, cool phone… and a huge mortgage. Let’s step out begin a society’s slaves, we need to be brave and make the first step.

the start

Our dream starts 5 years ago… When Aleu meet one of the most importan travellers on Earth, he is Salva Rodigez a Spanish man going with his bike around the world. He make me feel like i don’t know anything in life, like most of the people have in mind, get a good job, big house, nice car, and a beautiful and fat bank acc. But he talked and explain the way he was living, what he saw, where he sleep… And i just was out of words, just lisent, just freeze in that moment that day.

 

image

Since then, i always think about how life will be living in a tent with a touring bike… From that day five years pass, i grow up, i learn, i prepare myself for life and i meet the right person. Now both of us have a common and unique goal, and is prepare for this trip, from what we plan we will start on, begin next year, going from Thailand to Cambodia, Vietnam and Laos.